วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

พายุหมุนเขตร้อน     

พายุหมุนเขตร้อน หมายถึง พายุหมุนที่เกิดขึ้นเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ซึ่งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้
     ทางอุตุนิยมวิทยาได้ใช้อัตราเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุเพื่อแบ่งประเภทพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ได้ดังนี้


ประเภทความเร็วลม
พายุดีเปรสชั่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุโซนร้อนความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 70-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุไต้ฝุ่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป


     การเรียกชื่อพายุนั้นเรียกต่างๆ กันตามบริเวณที่เกิด เช่น
1. ถ้าพายุเกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า พายุไซโคลน
2. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริเบียน อ่าวเม็กซิโก เรียกว่า พายุเฮอริเคน
3. ถ้าพายุเกิดในออสเตรเลีย เรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี
4. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีน เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น
     ส่วนพายุทอร์นาโดหรือลมงวงช้าง มีลักษณะหมุนเป็นเกลียว โดยจะเห็นลมหอบฝุ่นละอองเป็นลำ พุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ คล้ายมีงวงหรือปล่องยื่นลงมา

พายุนี้เกิดขึ้นได้ทุกทวีป แต่เกิดบ่อยที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เกิดได้เกือบตลอดปี พายุนี้มีอำนาจทำลายร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ รวมทั้งชีวิตมนุษย์และสัตว์ด้วย ขณะเกิดพายุนี้มักมีฟ้าคะนองและฝนตกหนักขึ้นพร้อมกัน บางครั้งยังมีลมพายุพัดกระโชกแรง พาเอาลูกเห็บมาด้วย พายุทอร์นาโดจะเกิดในเมฆที่ก่อตัวทางตั้งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
     นอกจากลมจะทำให้เกิดความเสียหายแล้ว แต่ก็ยังให้ประโยชน์กับมนุษย์มากมาย เช่น ใช้ในการแล่นเรือ ในชีวิตประจำวัน ลมทำให้ผ้าแห้ง ช่วยให้เกิดความเย็นสบาย ช่วยหมุนกังหันเพื่อฉุดระหัดวิดน้ำ ปั๊มสูบน้ำ ปั่นไฟ ใช้ประโยชน์จากแรงลมซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม


http://203.113.86.82/dltv/dltv-uploads/libs/html/1754/con1.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น