วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

Name : Preecha    Kaewnatib

E-Mail :  p.zeal@hotmail.com

           :  p.zeal.13@gmail.com
การสื่อสารของมด

การติดต่อสื่อสารระหว่างมดด้วยกัน ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีที่ผลิตขึ้นมา สารเคมีชนิดนี้ เรียกว่า ฟีโรโมน เป็นสารเคมีที่สำคัญมากที่สุด สารเคมีชนิดนี้มีหลายชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ตัวอย่างเช่น การบอกทาง จะพบเห็นเป็นประจำที่มดเดิน ขณะที่ออกไปหาอาหารซึ่งจะทำให้สมาชิกมดงานตัวอื่นๆสามารถค้นหาเจอ การเตือนภัยและการผสมพันธุ์ มดจะปล่อยฟีโรโมนเกี่ยวกับพวกนั้นออกมา เช่น เมื่ออันตรายกับสมาชิกในกลุ่ม มดงานจะปล่อยฟีโรโมนเกี่ยวกับการเตือนภัยให้แก่สมาชิกรับทราบถึงอันตรายที่ได้รับหรือจะมาถึง
        มดงานก็จะมาอยู่รวมเป็นกลุ่มและมีปฏิกิริยาโต้ตอบโดยใช้กรามและหนวดกางออกอย่างกว้างๆ ในมดบางกลุ่มมีการปล่อยกรดฟอร์มิกออกมาทางด้านปลายส่วนท้อง เป็นการขับไล่ศัตรูออกไป มดแต่ละตัวจะมีที่รับสารเคมีเหล่านี้ได้ดีมากและรวดเร็วซึ่งจะอยู่ที่หนวดและส่วนอ่อนของลำตัว
        มดยังมีการสื่อสารโดยการใช้หนวดด้วยเช่นกัน จะเห็นอยู่เป็นประจำในลักษณะที่เรียกว่าจูบกัน (kissing) แต่ละตัวเมื่อพบกันตามทางเดิน โดยการเคลื่อนไหวหนวดจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งหรือไปข้างหน้าและข้างหลัง การเคลื่อนไหวของหนวดจะเป็นการแสดงตำแหน่งของอาหารหรือรัง พฤติกรรมการจูบนี้จะพบเห็นระหว่างช่วงที่มีการถ่ายเทอาหารใหแก่กันด้วย ขบวนการนี้เป็นการแลกเปลี่ยนของเหลวที่อยู่ในกระเพาะด้านหน้าระหว่างสมาชิกด้วยกันและผู้มาเยี่ยมเยือน อาจเป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันหรือได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว
        นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารโดยการสั่นทำให้เกิดเสียงขึ้น พบได้ในมดบางชนิดที่ชอบอาศัยตามต้นไม้ เมื่อมีภัยมดงานที่อยู่ในรังจะกระตุ้นโดยการเคาะเบาๆตามพืชที่อาศัยเป็นผลทำให้เกิดเสียงอย่างดังและสามารถได้ยินได้ วิธีนี้เป็นการป้องกันต่อศัตรูและเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กับมดที่อยู่บริเวณนั้นด้วยเช่นกัน
        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสื่อสารของมด หนวดถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่จะถ่ายทอดสัญญาณต่างๆออกไปให้มดงานที่อยู่รอบข้างได้รับรู้ มีการเปรียบเทียบไว้ว่าถ้าผึ้งจะใช้การการสื่อสารต่อกันโดยภาษาการเต้นรำ ส่วนมดนั้นจะใช้ภาษาของหนวดในการสื่อสาร

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
โลก (Earth)



              โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน 
               โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี   โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)
ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพูลโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก
ดวงจันทร์
               ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง 
               ดวงจันทร์เป็นดวงดาวใหญ่ที่สุด  และสว่างที่สุดในท้องฟ้ากลางคืน  ดวงจันทร์ส่องแสง  แต่แสงที่ส่องนั้นมิได้เปล่งออกมาจากดวงจันทร์เอง  ดวงจันทร์เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะสะท้อนแสงนั้นออกมา  ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  แต่ก็ยังเป็นระยะทางไกลมากคือ  ระยะสิบเท่าของเส้นรอบโลกยังสั้นกว่าระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์
วัฏจักรของดวงจันทร์
                เราทราบแล้วว่า ถ้านับเดือนทางจันทรคติ แล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ กินเวลา 29 1/2 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ แล้วก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้าจะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา 

ที่มา
อ้างอิงจาก
http://www.obec.go.th/news/
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



ดาวอังคาร (Mars)  


              ดาวอังคารบางทีก็เรียกกันว่าดาวแดงเพราะผิวพื้นเป็นหินสีแดง หินบนดาวอังคารที่มีสีแดงก็เพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวดังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจากหินแดงที่ว่านี้   ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเทาสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อยดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวงดาว ดาวอังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ดาวอังคารอยูไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจึงทำให้มีบรรยากาศหนาวเย็น อุณหภูมิบนดาวดวงนี้จะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
 ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอน พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ
                ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมาย ยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมา สามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณ โดยเห็นภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตร ภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวง บนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ยานที่สำรวจดาวอังคารต่อจากยานมารีเนอร์ คือ ยานไวกิง 2 ลำ แต่ละลำประกอบด้วยยานลำแม่ที่เคลื่อนรอบดาวอังคาร ในขณะที่ส่งยานลูกลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร ยานไวกิง 1 ลงที่ไครส์ พลาทิเนีย (Chryse Planitia) ซึ่งแปลว่า ที่ราบแห่งทองคำ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นเวลา 7 ปีหลังจากที่ นีล อาร์มสตรอง เหยียบดวงจันทร์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ยานไวกิง 2 ก็ลงในที่ราบทางเหนือชือที่ราบยูโทเปีย (Utopia) ยานทั้งสองมีแขนกลยื่นออกไปตักดินบนดาวอังคารมาวิเคราะห์ภายในยาน เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต หรือซากของสิ่งมีชีวิต แต่การวิเคราะห์ไม่ยืนยันว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ต่อจากยานไวกิงคือ ยานมาร์สพาธไฟเดอร์ ที่นำรถโซเจนเนอร์ไปด้วย ยานได้ลงบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2540 ภาพที่น่าตื่นเต้นคือการติดตามรถคันเล็กๆ เคลื่อนที่สำรวจก้อนหินใกล้ฐานซึ่ง ต่อมาได้รับชื่อว่า ฐานเซแกน ภาพก้อนหินที่เรียงในทิศทางเดียวกันชี้ให้ เห็นว่าบนดาวอังคารเคยมีน้ำไหลมาก่อน ล่าสุดยานมาร์สโกลบอล เซอร์เวเยอร์ ซึ่งกำลังเคลื่อนรอบดาวอังคารได้ส่งภาพหุบเหวที่เป็นร่องลึกหรือที่เรียกว่า แคนยอน ซึ่งคดเคี้ยวไปมา ในอนาคตสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีโครงการที่จะส่งยานอวกาศไปเก็บดินจากดาวอังคารกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการบนโลก และอีกไม่นานมนุษย์จะเดินทางไปดาวอังคารเช่นเดียวกับการลงบนดวงจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 


ที่มา
อ้างอิงจาก
http://www.obec.go.th/news/
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
 ดวงอาทิตย์ (The Sun) 


              ดวงอาทิตย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบสุริยะ  เป็นผู้ดึงดูดให้ดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอยู่และดวงอาทิตย์ยังให้แสงและความร้อนกับดาวเคราะห์นั้นด้วย  ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ระบบสุริยะก็จะมืดมิดและหนาวเย็น  เมื่อผ่าดวงอาทิตย์ออกมาเป็นชิ้นภายในดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้แข็งเหมือนโลก  ดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มก๊าซดวงใหญ่ที่ลุกเป็นเปลวไฟ  ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม  ดวงอาทิตย์ไม่ได้เผาไหม้ด้วยการเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซฮีเลียม  ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ร้อนที่สุดในรบบสุริยะที่ใจกลาง  ดวงอาทิตย์จะร้อนถึง15 ล้านองศาเซลเซียส  ความร้อนขนาดนี้เพียงก้อนโตเท่าหัวเข็มหมุดก็จะทำให้คนที่ยืนอยู่ห่าง 150 กิโลเมตรตายได้
  ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เนื้อสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์ คือ มีมากถึง 99.87% เป็นมวลสารดาวเคราะห์รวมกันอย่างน้อยกว่า 0.13% ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ บนฟ้า แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด จึงปรากฏเป็นวงกลมโต บนฟ้าของโลกเพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์อื่นปรากฎเป็นจุดสว่าง เพราะอยู่ไกลมาก ขนาดที่แท้จริงโตกว่าโลกมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 109 เท่าของโลก
              ดวงอาทิตย์สร้างพลังงานขึ้นมาเองโดยการเปลี่ยนเนื้อสารเป็นพลังงานตามสมการของไอน์สไตน์ E = mc2 (E คือพลังงาน, m คือ เนื้อสาร, และ c คือ อัตราเร็วของแสงสว่างในอวกาศซึ่งมีค่าประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที) บริเวณที่เนื้อสารกลายเป็นพลังงาน คือ แกนกลางซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส ณ แกนกลางของดวงอาทิตย์มีระเบิดไฮโดรเจนจำนวนมาก กำลังระเบิดเป็นปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่ไฮโดรเจนหลอมรวมกันกลายเป็นฮีเลียม ในแต่ละวินาทีไฮโดรเจนจำนวน 4 ล้านตันกลายเป็นพลังงาน ใน 1 ปีดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับมวลสารของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 2 x 1027 ตัน หรือ 2,000 ล้านล้านล้านตัน หรือ 332,946 เท่าของโลก
               ที่ผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิประมาณ 5,700 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 6,000 เคลวิน ดวงอาทิตย์จึงถูกจัดเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี เป็นดาวฤกษ์หลัก อยู่ในช่วงกลางของชีวิต ในอีก 5,000 ล้านปี ดวงอาทตย์จะจบ ชีวิตลงด้วยการขยายตัวแต่จะไม่ระเบิด เพราะแรงโน้มถ่วงมีมากกว่าแรงดัน ในที่สุด ดวงอาทิตย์จะยุบตัวลงอย่างสงบกลายเป็นดาวขนาดเล็ก เรียกว่า ดาวแคระขาว
ที่มา
อ้างอิงจาก
http://www.obec.go.th/news/

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
 ไผ่ปักกิ่ง (ไผ่จีน) 


ประวัติความเป็นมา เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน รายละเอียดเชิงวิชาการ ไม่ชัดเจนเพียงศึกษาจากการสังเกตุ การเจริญเติบโต ไผ่จีน ไผ่ปักกิ่ง เรียกชื่อตาม คำบอกเล่าของคนจีนที่นำต้นไผ่เข้าแล้วนำถวายวัดในเขตอำเภอสามชุก จ.สุพรรณบุรี ลักษณะลำต้น ลำต้นสีเหลืองอมเขียว กาบหุ้มลำต้นถี่และหลุดง่าย ส่วนโคนจะมีรากเล็กๆออกมาเป็นระเบียบสวยงาม ไม่ค่อยแตกกิ่ง จะไม่มีหนาม ลำตรงสวยงาม ลำสูงประมาณ 6-10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ปล้องห่างประมาณ 8-12 นิ้ว ภายในมีรูเล็กประมาณ เส้นผ่า ศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว กลวงตลอดทั้งหน่อ ลักษณะใบ ใบจะใหญ่มากแต่สั้นไม่ยาว โคนใบจะกว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว ไม่แข็งเหมาะสำหรับใช้ในการห่อขนมได้ การปลูก เนื่องจากไผ่ปักกิ่งเป็นไผ่ขนาดใหญ่ ระยะปลูกควรเป็น 5 คูณ 5 เมตร ขุดหลุมให้ได้ขนาด 50 คูณ 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร ไผ่เจริญเติบโตดีมาก โตเร็ว โดยเฉพาะในเมืองไทย อากาศไม่หนาวจัดและให้หน่อดกมากในแต่ละกอรอบก่อไผ่จะให้หน่อประมาณ 8-10 หน่อ ลำไผ่ขึ้นตรงไม่มีหนาม การเกิดหน่อกระจายรอบ ๆ ต้น ห่างประมาณ 4-5 นิ้ว ชอบปุ๋ยคอก การให้น้ำประมาณ 1-2 ปิ๊บ/วัน การตัดหน่อ จะทำการตัดหน่อบริโภค ซึ่งขณะนี้มีจำหน่ายไม่มากนัก ทำการแปรรูป จะนำไปสู่การ ทำหน่อไม้แห้งที่ไม่แข็ง ไม่เหนียว เมื่อจะบริโภคประกอบอาหารก็อ่อนนุ่ม หน่อจะกลวง แต่ความอร่อย ของเนื้อหน่อไม้จะอร่อยกว่า ชิมสด ๆ จะมีขื่นนิดหน่อยเท่านั้น ถ้านำไปต้มหมู แกง หรือหั่นตามยาว ผัดจะอร่อยมาก เนื้อของหน่อจะเป็นเส้นหยาบนิดหน่อย ทำให้เวลาต้มหรือแกงจะดูดซับเข้าเนื้อดี จึงบริโภคอร่อยมาก การใช้ประโยชน์ 1. ลำไผ่จะใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ได้สวยงามมากเพราะลำไผ่ตรงสีสวย และใช้กับ การก่อสร้าง เช่น โรงเรือนไม้ไผ่ บ้านไม้ไผ่ รั้วไม้ไผ่ และเก้าอี้ไม้ไผ่ 2. ใบมีขนและใหญ่ ไม่เหมาะเป็นอาหารสัตว์ ริมใบจะคม นำมาทำความสะอาดแล้วใช้ห่อขนม เช่น บ๊ะจ่าง ขนมตาล เป็นต้น 3. ซอ หรือโคนไผ่ นำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สวย โคนไผ่จะให้รูปร่างที่แปลก สวยงาม 4. หน่อไม้ นอกจากบริโภคปกติ แล้วเมื่อมีมากจะทำหน่อไม้แห้งเพราะมีคุณสมบัติ อ่อนนิ่ม สมอย่างยิ่ง ราคาหน่อไม้สดกิโลกรัมละ 50-60 บาท 1 หน่อน้ำหนักประมาณหน่อใหญ่ หนักถึง 5- 7 ก.ก. หน่อเล็กประมาณ 3-4 ก.ก.

ที่มา

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ต้นตะเคียน


         ต้นตะเคียน เป็นพันธุ์ไม้สกุล Hopea รวมอยู่ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) เ ป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่แพ้ไม้ยางหรือไม้ยูง ไม้ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกจะเรียบ แต่พอต้นใหญ่เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดแน่นทึบเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวย กิ่งอ่อนเกลี้ยง เนื้อไม้สีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อละเอียด ใบรูปไข่แกม รูปหอกเกลี้ยงเป็นมัน ลักษณะคล้ายใบตะเคียนชันตาแมว แต่ในตะเคียนทองมีข้อสังเกตได้ตรง ที่ง่ามแขนงใบที่ติดกับเส้นกลางใบ มักมีตุ่มหูดเกลี้ยง ๆ ติดอยู่เสมอ ดอกเล็ก ๆ สีขาวกลิ่นหอม ออกรวมกัน เป็นช่อโตๆ ตามง่ามใบ ดอกจะเรียงกันเป็นแถวบนก้านแขนงช่อ ช่อจะมีขนเทา ๆ ทั่ว ๆ ไป ทั้งกลีบดอก และกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ ผล รูปกระสวยเล็ก ๆ มีปีกยาว 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก ปีกยาวแต่ละปีกมีเส้นตามยาว 7 เส้น เป็นพันธุ์ไม้ในเขตมรสุมของเอเชีย ชอบขึ้นในที่ราบลุ่มและชุ่มชื้น เช่น ตามชายหนอง คลอง บึง ในบ้านเมืองเรา ตะเคียนสามารถขึ้นได้ทุกภาค จึงมีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ เช่น กะกี้ โกกี้ แคน จะเคียน จูเค้ โซเก ตะเคียน ตะเคียนใหญ่ และไพร เป็นต้น ในช่วงแรกไม่ชอบแดดจัดถ้านำต้นเล็กมาปลูก ในที่โล่ง ไม่มีร่มเงาจะไม่ค่อยเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดเพาะ เมล็ดควรจะเก็บจากต้น คือ สังเกตุพอเห็นปีกเริ่มเป็นสีน้ำตาลก็เก็บได้เลย แล้วรีบนำมาเพาะทันที หากทิ้งไว้นานเปอร์เซ็นต์การงอก จะน้อยมาก ไม้ตะเคียนนับว่ามีประโยชน์สำหรับสิ่งก่อสร้าง เช่น ทำเรือ ทำเครื่องตกแต่งบ้านและเครื่องมือ เครื่องใช้ในการกสิกรรมมาก เพราะเนื้อไม้สวยทนทานต่อภูมิอากาศได้ดีมาก
         เนื่องจากตะเคียนเป็นไม้ใหญ่มีอายุยืนนาน และชอบอยู่ในที่ชุ่มชื้น จึงทำให้เกิดนิยายเกี่ยวกับผีสางนางไม้ของ ต้นตะเคียนเสมอ บางบ้านที่เอาต้นตะเคียนมาทำเสา พอมีน้ำมันไหลซึมออกมาก็ต้องนำไปเซ่นไหว้บูชา เพื่อลุแก่โทษทันที มิฉะนั้นอำนาจของนางไม้ในต้นตะเคียนจะทำให้เจ้าของและบริวารในบ้านไม่มีความสุข จะเจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ ต้นที่อยู่ในป่าบางทีก็จะมีผ้าแดงไปคาดไว้ และทุกคนจะหลีกเลี่ยงไม่อยากจะกล้ำกราย เข้าใกล้ทีเดียว ยิ่งต้นใหญ่ ๆ ที่มีอายุมาก ๆ จะไม่เข้าไปตัดโค่น แถมบางทีเวลาผ่านต้องกราบไหว้เสียอีก นับว่าเป็นการสงวนพันธุ์แม่ไม้ได้อย่างดี ไม่น่าที่ความเชื่อถือแบบนี้ในปัจจุบันจะหดหายลงไปเลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต



วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเภทของมด แบ่งเป็น 8 ประเภท คือ
 

มดคันไฟ - มีลักษณะสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว หนวดมี 10 ปล้อง อกแคบ เห็นชัดเจน มี 2 ปุ่ม ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยโดยดินทรายรังหนึ่งๆ มีรูทางเข้าออก เล็กๆ บนพื้นดินได้หลายรู กินแมลงและซากสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร มดคันไฟใช้เหล็กในต่อย  ผู้ถูกต่อย จะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟ หลังจากถูกต่อยจะมีอาการบวมแดงขยายกว้างขึ้น และจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคัน มากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น

มดดำ - มีลักษณะมีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป หนวดมี 12 ปล้อง ลักษณะยาวเห็นได้ชัด อกแต่ละปล้องมีเส้นแบ่งชัดเจน ขายาวมาก มี 1 ปุ่ม เป็นรูปไข่นูนเล็กน้อย ท้องรูปไข่ พบเห็นทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกบ้าน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้น จึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่นๆ พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกบางครั้งอาจจะพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคน แม้ถูกรบกวน มดดำเป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าอันตราย


มดละเอียด - มีลักษณะสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใส ท้องมีสีเข้มเกือบดำ หนวดมี 12 ปล้อง โดย 3 ปล้องสุดท้ายใหญ่เป็นรูป กระบอง ตาเล็ก อกยาวแคบเห็นชัดเจน มี 2 ปุ่มรูปไข่ มีขน ปกคลุมทั่วร่างกาย ชอบทำรังอยู่ใกล้แหล่งอาหารเช่น ช่องว่างตามกำแพงบ้าน รังมีขนาดต่างๆกันตั้งแต่ ขนาดเล็กจนถึงมีประชากรเป็นพันๆ ตัว และสามารถแตกเป็นรังย่อย จากรังใหญ่ได้ โดยจะกระจายไป ตามบ้าน ที่อยู่อาศัย ทำให้ควบคุมได้ยาก มดละเอียดจะมีเหล็กในแต่ไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อถูกรบกวนจะ ป้องกันตัวโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บ และ คันเพียงเล็กน้อย
มดละเอียดหรือมดเหม็น มีลักษณะหัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อนปล้องมีหนวดมี และยาว ตารวม ใหญ่อยู่ด้านหน้า ปล้อง มีปุ่ม 1 ลักษณะ แบน ปล้องท้องส่วนยื่นไปคลุมบน pedicel ทำรังบนดินร่วม บริเวณโคนต้มไม้ เช่น ต้นไผ่ ชอบซ่อนตัวตามกาบใบที่มีความชุ่มชื้น มดเหม็น เมื่อเข้ามาหาอาหารใน บ้านเรือนจะขับถ่ายมูลทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและมีกลิ่นเหม็น ทำอันตรายคนโดยการกัดผู้ถูก กัด และ รู้สึกเจ็บ และคันเพียงเล็กน้อย

มดง่าม - มีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม กรามใหญ่ หนวดมี 11 ปล้อง เว้าลงส่วนท้องกว้างรูปไข่ ทำรังในดินร่วนมองผิวดินจะเห็นเป็นเพียงรูเปิดเล็กๆ และมีดินร่วงกองอยู่รอบๆ ของขอบรูเข้าออก ชอบทำรังในที่ร่มชื้น กินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ทำอันตรายคนโดยการกัดอาการจะคล้าย คลึงกับอาการของคนที่ถูกมดคันไฟต่อยมาก


มดแดง - มีลักษณะสีแดงเข้ม หัวและส่วนอกมีขนเส้นเล็กๆ หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวโค้งคอดคล้าย อาน กลม ขาเรียวยาว ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ชมพู่ โดยใช้ใบเหล่านี้ประกอบเป็นรัง โดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ให้ประกบกัน เมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อโดยการกัด และฉีดสารพิษออกทางปลายท้อง เมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บจะช่วยกันลากกลับรัง มดแดง เมื่อถูกรบกวน จะทำอันตรายคนโดยการกัดผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บปวดมาก ต่อมาจะเกิดอาการบวมคัน

มดตะนอย มีลักษณะสำคัญสีดำปนน้ำตาลเหลือง มีขนกระจายบางๆ ไม่เป็นระเบียบ หนวด 12 ปล้อง อกยาว กว้าง เล็กแบน รูปไข่นูน ท้องรูปไข่เล็กปลายแหลมโค้ง มีเหล็กในที่ปลาย ทำรังอยู่ในต้นไม้ ใหญ่ที่ตายแล้ว เช่น ต้นก้ามปู ทำให้ต้นไม้เป็นโพรงอยู่ภายใน หากินบนต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียง เป็นพวกกินเนื้อเป็นอาหาร มดตะนอยจะต่อยโดยใช้เหล็กใน ผู้ถูกต่อยจะปวดคล้ายถูกผึ้งต่อยเหล็กใน จะทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาการบวม ต่อมาจะคันมาก


           
        แหล่งที่มา


พายุหมุนเขตร้อน     

พายุหมุนเขตร้อน หมายถึง พายุหมุนที่เกิดขึ้นเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ซึ่งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้
     ทางอุตุนิยมวิทยาได้ใช้อัตราเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุเพื่อแบ่งประเภทพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ได้ดังนี้


ประเภทความเร็วลม
พายุดีเปรสชั่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุโซนร้อนความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 70-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุไต้ฝุ่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป


     การเรียกชื่อพายุนั้นเรียกต่างๆ กันตามบริเวณที่เกิด เช่น
1. ถ้าพายุเกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า พายุไซโคลน
2. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริเบียน อ่าวเม็กซิโก เรียกว่า พายุเฮอริเคน
3. ถ้าพายุเกิดในออสเตรเลีย เรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี
4. ถ้าพายุเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีน เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น
     ส่วนพายุทอร์นาโดหรือลมงวงช้าง มีลักษณะหมุนเป็นเกลียว โดยจะเห็นลมหอบฝุ่นละอองเป็นลำ พุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ คล้ายมีงวงหรือปล่องยื่นลงมา

พายุนี้เกิดขึ้นได้ทุกทวีป แต่เกิดบ่อยที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เกิดได้เกือบตลอดปี พายุนี้มีอำนาจทำลายร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ รวมทั้งชีวิตมนุษย์และสัตว์ด้วย ขณะเกิดพายุนี้มักมีฟ้าคะนองและฝนตกหนักขึ้นพร้อมกัน บางครั้งยังมีลมพายุพัดกระโชกแรง พาเอาลูกเห็บมาด้วย พายุทอร์นาโดจะเกิดในเมฆที่ก่อตัวทางตั้งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
     นอกจากลมจะทำให้เกิดความเสียหายแล้ว แต่ก็ยังให้ประโยชน์กับมนุษย์มากมาย เช่น ใช้ในการแล่นเรือ ในชีวิตประจำวัน ลมทำให้ผ้าแห้ง ช่วยให้เกิดความเย็นสบาย ช่วยหมุนกังหันเพื่อฉุดระหัดวิดน้ำ ปั๊มสูบน้ำ ปั่นไฟ ใช้ประโยชน์จากแรงลมซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม


http://203.113.86.82/dltv/dltv-uploads/libs/html/1754/con1.html





ถิ่นกำเนิดหรือบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อน 
         

           พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่วๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (Cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตร พายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 องศาเซลเซียส หรือ 27 องศาเซลเซียส ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด



          พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด

          ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้ 
          - พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

          - พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) 

          - ไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป

          สำหรับประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก "พายุหมุนเขตร้อน" ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า "ไซโคลน" แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้น จะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล

          พายุหมุนเขตร้อน หรือ พายุไซโคลน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง จะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (30 เมตร/วินาที, 74 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 118 กิโลเมตร/ ชั่วโมง) ขึ้นไป และมักจะมี "ตาพายุ" ศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า "ตา" เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อย ล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ตาพายุนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นวงกลมเล็กที่ไม่มีเมฆ รอบตาจะมีกำแพงล้อมที่มีขนาดกว้างประมาณ 16-80 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีพายุฝนและลมหมุนที่รุนแรงมากหมุนวนรอบๆ ตา 
          ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะปรากฏลมแรง ฝนตกหนัก และมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก ซึ่งการเคลื่อนตัวของเมฆรอบศูนย์กลางพายุก่อตัวเป็นรูปขดวงก้นหอยที่เด่นชัด แถบหรือวงแขที่อาจยื่นโค้งเป็นระยะที่ยาวออกไปได้มากในขณะที่เมฆถูกดึงเข้าสู่วงหมุน ทิศทางวงหมุนของพายุขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดว่าอยู่ ณ ส่วนใดของซีกโลกดังกล่าวแล้ว 

          หากอยู่ซีกโลกเหนือพายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ด้านซีกโลกใต้จะหมุนตามเข็มนาฬิกา ความเร็วสูงสุดของพายุหมุนเขตร้อนที่เคยวัดได้มีความเร็วมากกว่า 85 เมตร/วินาที (165 นอต, 190 ไมล์/ชั่วโมง, 305 กิโลเมตร/ชั่วโมง) พายุที่รุนแรงมากและอยู่ในระยะก่อตัวช่วงสูงสุดบางครั้งอาจมีรูปร่างของโค้งด้านในแลดูเหมือนอัฒจรรย์สนามแข่งขันฟุตปอลได้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบางครั้งในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "ปรากฏการณ์อัฒจรรย์" (stadium effect)

          วงหมุนที่เกิดผนังตาพายุจะเกิดตามปกติเมื่อพายุมีความรุนแรงมาก เมื่อพายุแรงถึงขีดสุดก็มักจะเกิดการหดตัว ของรัศมีกำแพงตาพายุเล็กลงถึงประมาณ 8-24 กิโลเมตร (5-15 ไมล์) ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกิด ถึงจุดนี้เมฆฝนอาจก่อตัวเป็นแถบอยู่ด้านนอกแล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าวงในแย่งเอาความชื้นและแรงผลักดันหรือโมเมนตัมจากผนังตาพายุ ทำให้ความรุนแรงลดลงบ้าง (ความเร็วสูงสุดที่ผนังลดลงเล็กน้อยและความกดอากาศสูงขึ้น) ในที่สุดผนังตาพายุด้านนอกก็จะเข้ามาแทนผนังในจนหมด ทำให้พายุกลับมามีความเร็วเท่าเดิม 

          แต่ในบางกรณีอาจกลับเร็วขึ้นได้ แม้พายุหมุนจะอ่อนตัวลงที่ปลายผนังตาที่ถูกแทนที่ แต่ที่จริงแล้วการเพิ่งผ่านปรากฏการณ์ลักษณะนี้ในรอบแรกและชะลอการเกิดในรอบต่อไป เป็นการเปิดโอกาสให้ความรุนแรงสะสมตัวเพิ่มขึ้นอีกได้ถ้ามีสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมเกิน 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่

          - ระดับที่ 1 มีความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างเล็กน้อย ไม่ส่งผลต่อสิ่งปลูกสร้าง มีน้ำท่วมขังตามชายฝั่ง  

          - ระดับที่ 2 มีความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างเล็กน้อย ทำให้หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนเสียหายบ้าง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง  

          - ระดับที่ 3 มีความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก น้ำท่วมขังถึงพื้นบ้านชั้นล่าง 

          - ระดับที่ 4 มีความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างสูง หลังคาบ้านเรือนบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นบ้าน  

          - ระดับที่ 5 มีความเร็วลมมากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำลายล้างสูงมาก หลังคาบ้านเรือน ตึกและอาคารต่างๆ ถูกทำลาย พังทลาย น้ำท่วมขังปริมาณมาก ถึงขั้นทำลายทรัพย์สินในบ้าน อาจต้องประกาศอพยพประชาชน 

          ขณะเดียวกันพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีความแรงของลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 33 นอต จะเริ่มมีการกำหนดชื่อเรียก โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้จัดรายชื่อเพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้เป็นสากล เพื่อทุกประเทศในบริเวณนี้ใช้เพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวขึ้น โดยเรียงตามลำดับให้เหมือนกัน

          ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศสมาชิกในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนและแถบทะเลจีนใต้ 14 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย โดยนำชื่อมาเรียงเป็น 5 สดมภ์ เริ่มจากกัมพูชาจนถึงเวียดนามในสดมภ์ที่ 1 เมื่อหมดแล้วให้เริ่มขึ้นสดมภ์ที่ 2 ถึง 5 แล้วจึงเวียนมาเริ่มที่สดมภ์ 1 อีกครั้ง จนกว่าจะมีการกำหนดชื่อพายุครั้งใหม่อีก


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ไม้สัก




          ไม้สัก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectoma Grandis อยู่ในวงศ์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออก

ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิต์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตร และมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
ไม้สักชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบ พื้นที่ดินปนทรายที่น้ำไม่ขัง ไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นกัน ไม้สักมักเป็นหมู่ไม้สักล้วนๆ และมีขนาดใหญ่และชอบขึ้นที่ที่มี ชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
ไม้สักเป็นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่ที่มีลำต้นเปล่า มักมีพูพอนตอนโคนต้นเรือน ยอดกลมสูงเกินกว่า ๒๐ เมตร เปลือกหนา สีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทาแตกเป็นร่องตื้นๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ เล็กๆ ใบใหญ่ ความกว้าง ๒๕ - ๓๐ เซนติเมตร ยาว ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร รูปใบรีมนหรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ๆ ท้องใบสากหลัง ใบสีเขียวแกมเทาเป็นขน ดอกเป็น สีขาวนวลออกเป็นช่อใหญ่ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ - ๒ เซนติเมตร ผลหนึ่งๆ มีเมล็ดใน ๑ - ๔ เม็ด เปลือกแข็งมีขนสั้นๆ นุ่มๆ สีน้ำตาลหุ้มอยู่ ผลจะแก่ในราว เดือนพฤศจิกายน - มกราคม
ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองทองถึงน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกเสี้ยนตรงเนื้อหยาบแข็งปานกลาง เลื่อนใสกบ ตบแต่งง่าย
คุณสมบัติที่ดีบางประการ คือ ไม้สักปลวกมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษ มีคุณสมบัติคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็นราได้อย่างดียิ่ง มีความแข็งแรงสูงตามการทดลองถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตร มีความทนทานตาม ธรรมชาติ จากการทดลองนำแก่นของไม้สักไปปักดิน มีความทนทานระหว่าง ๑๑ - ๑๘ ปี
นอกจากนี้ไม้สักทองยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ ๐.๕ ppm (ไม้สักทอง ๒๖ ตัน มีทองคำหนัก ๑ บาท)
 
ลักษณะของไม้สักมี ๕ ชนิด คือ
๑. สักทอง ขึ้นในป่าโปร่งชื้นไกลห้วยหรือแล้ง แต่ใกล้ห้วยดินค่อนข้างสมบูรณ์การแตกของเปลือกเช่นเดียวกับสักหยวก แต่อยู่ในที่ที่แห้งชื้นไปบ้างเท่านั้น เรือนยอดสมบูรณ์ใบมีขนาดปานกลาง เนื้อไม้จะเป็นเส้นตรงผ่าง่าย มีความแข็งกว่าสักหยวก สีเข้ม เป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือที่เรียกกันว่า สีทอง
๒. สักหยวก ขึ้นในป่าโปร่งชื้นริมห้วย ต้นตรงเปลือกแตกเป็นร่องแต่ยาวตรงร่องของเปลือกไม้สักหยวกจะกว้างกว่า ไม้สักทอง เรือนยอดสมบูรณ์ ใบขนาดกลาง เนื้อไม้หรือแก่นจะมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีจาง ถากหรือฟันง่าย
๓. สักไข ขึ้นอยู่ในป่าโปร่งแล้งเป็นส่วนมาก ความเจริญเติบโตดูช้า ร่องของเปลือกลึกและตัวเปลือกเป็นสันกว้าง ระหว่างร่องลำต้นตรงเปลา แต่มีลักษณะแกร็นๆ พุ่มของเรือนยอดบอบบางแต่ก็มีใบเต็ม จะทราบว่าเป็นสักไขก็ต่อเมื่อถึงมือช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะมีใขปนยากแก่การขัด และการทาแชลแลคหรือแลกเกอร์ สีของไม้สักไขจะเป็นสีน้ำตาลเข้มปนเหลือง
๔. สักหิน ไม้สักพวกนี้จะอยู่ในป่าโปร่งแล้งในระดับสูง การแตกของเปลือกเป็นร่องลึก และเรือนยอดดูไม่ค่อยแข็งแรง ใบเล็กกว่าปกติจะทราบได้แน่นอนเมื่อมีการโค่นล้มหรือตบแต่ง โดยพวกโค่นล้มเลื่อยและช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะแข็งกว่าไม้สัก ทั่วไปและเปราะสีของเนื้อไม้สักเป็นสีน้ำตาลเข้ม
๕. สักขี้ควาย ไม้สักพวกนี้จะเกิดอยู่ในที่ค่อนข้างแล้ง ในป่าผลัดใบต่างๆ และมักจะอยู่ในบริเวณรอยต่อของป่าโปร่ง ผลัดใบและป่าแพะ ลักษณะของเรือนยอดมักจะไม่สมบูรณ์ลำต้นจะตายบ้าง กิ่งบนเรือนยอดแห้งตายไปบ้างกิ่งสองกิ่ง ลักษณะของ เปลือกแตกเป็นร่องไม่สม่ำเสมอ ขาดเป็นตอนๆ และร่องลึก จะทราบได้ชัดก็เมื่อโค่นลงมาเลื่อยดู จะเห็นได้ชัดว่าเนื้อไม้มีสีเขียวปน น้ำตาล น้ำตาลแก่ น้ำตาลอ่อน ปนกันดูเป็นสีเลอะๆ
ในบรรดาไม้สักทั้ง ๕ ชนิด ไม้สักทองได้รับฉายานามในวงการป่าไม้ว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้" หรือ Queen of Timbers" เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลกที่ธรรมชาติมอบให้แก่คนไทยและประเทศไทยโดยเฉพาะ อนาคตไม้สักกำลังจะหมดไปจงช่วยกัน ปลูกไม้สักเพื่อเป็นมรดกของชาติและลูกหลานตั้งแต่วันนี้
ต้นสักใหญ่ที่สุดในโลก ค้นพบเมื่อปี ๒๔๗๐ ที่วนอุทยานต้นสักใหญ่ อำเภอน้ำปาด อุตรดิต์ มีความสูงประมาณ ๔๗ เมตร ปัจจุบันเหลือประมาณ ๓๗ เมตร เนื่องจากเรือนยอดถูกลมพัดหักเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๒๐ วัดขนาดความโตโดยรอบต้นที่ ระดับสูง ๑๓๐ เซนติเมตร จากพื้นดิน ๑,๐๐๓ เซนติเมตร อายุของต้นสักใหญ่ประมาณ ๑,๕๐๐ ปี
ปัจจุบันจาก พ.ร.บ สวนป่า พ ศ ๒๕๓๕ อนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้สัก และนำไปใช้ประโยชน์ได้
จากตารางสถิติการขายและราคาไม้ซุงสักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. ๒๕๓๓ ระบุว่าราคาไม้สักต่อลูกบาศก์ เมตรละ ๘,๔๗๗ บาท ส่วนราคาไม้สักที่มีคุณภาพ เช่น สักทองคงจะมีราคาสูงกว่านี้และราคานี้ก็คงจะสูงขึ้นไปอีกเมื่อเวลาผ่านไป
(จากหนังสือปลูกสักทองเชิงธุรกิจ มณฑี โพธิ์ทัย พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปรับปรุงใหม่ สำนักพิมพ์เม็ดพายพริ้นติ้ง ๒๕๓๘)


ที่มา

       http://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem709.html

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
พายุทอร์นาโด  (Tornadoes)


       
         ในบรรดาพายุร้ายแล้วพายุทอร์นาโดเป็นพายุที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจะทำลายเคหสถานบ้านช่อง   ตึก  สะพาน  ต้นไม้  เรือ   และแม้กระทั่งรถไฟให้พินาศเสียหายได้   ชีวิตของคนจำนวนหมื่นและทรัพย์สินจำนวนล้าน   เคยถูกพายุนั้กระหน่ำทำลายมาแล้วมากต่อมาก   พายุร้ายนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้   ทวีปอเมริกาเหนือ   และบริเวณฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ   ด้านมหาสมุทรอัตลันติค
        คำว่า"ทอร์นาโด"   เป็นคำเสปญ  แปลว่า   หมุนเป็นเกลียว   เพราะพายุนี้เป็นพายุหมุนมีเส้นผ่าศูนย์กลางของการหมุนแคบ ๆ   แต่มีอัตราเร็วของการหมุนถึงชั่วโมงละ   300-500ไมล์  ความเร็วของการหมุนนี้          ถ้าผ่านไปในมหาสมุทรหรือลำแม่น้ำจะหอบเอาน้ำขึ้นเป็นลำไปในอากาศเกิดคลื่นลมร้ายแรงสามารถยกเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ขึ้นไปติดอยู่บนฝั่งลึก
เข้าไปได้เป็นไมล์ ๆ   ถ้าผ่านไปบนบกก็จะทำลายสิ่งกีดขวางทางเดินแหลกลาญไปตลอดระยะทางการเคลื่อนที่ของพายุนี้   มีอัตราความเร็วราว  50  ไมล์   ถึง  100  ไมล์ต่อชั่วโมง

        สาเหตุที่ทำให้เกิดพายุทอร์นาโดนี้   เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า   จึงทำให้เกิดกการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็วใกล้ ๆ   จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปใน
ท้องฟ้า   ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อย ๆ  ช้าลง   แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไปได้อย่างง่ายดาย

ลมหมุนประเภทนี้ถ้าเกิดในเขตทะเลจีนทางด้านเอเซียตะวันออก   เรียกว่า  ลมใต้ฝุ่น   นับเป็นภัยธรรมชาติที่น่ากลัวมากอย่างหนึ่ง

ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com/library/wonderful_solar_system/16.html

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

มดสายพันธุ์ใหม่

คริสเตียน เรเบลลิ่ง นักศึกษาด้านชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า จากการสำรวจป่าดงดิบแอมะซอน ได้พบมดรูปร่างประหลาด ลำตัวยาวแค่ 2-3 มิลลิเมตร ไม่มีตา มีสีซีดอ่อน มีกรามด้านล่างใหญ่กว่ากรามด้านบนมากนั้น เมื่อเอามาทำการสำรวจด้วยดีเอ็นเอ พบว่า มดประหลาดนี้วิวัฒนาการมาจากตัวต่อหรือตัวแตนเมื่อ 120 ล้านปีก่อน

จากรูปร่างหน้าตาที่ผิดแผกกว่ามดโดยทั่วๆ ไป เหมือนกับเป็นสัตว์ประหลาดที่มาจากนอกโลก เนื่องจากการวิวัฒนาการ ทำให้ ดร. เรเบลลิ่ง ตั้งชื่อมดนี้ว่า "Martialis heureka" หรือ "มดดาวอังคาร"

เรเบลลิ่ง กล่าวว่า "การค้นพบของผมจะช่วยให้นักชีววิทยาเข้าใจความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น รวมทั้งวิวัฒนาการของแมลง ทั้งยังแสดงว่า ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่ผ่านการวิวัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่ หลบซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นดินของป่าดงดิบ อย่างมดดาวอังคารหลบอยู่ในป่าดงดิบที่ไม่มีใครรบกวน แถมยังไม่ต้องไปแก่งแย่งหากินกับมดพันธุ์อื่น"

จากการนำดีเอ็นเอที่ขาของ "มดดาวอังคาร" มาวิเคราะห์ชี้ว่า วิวัฒนาการนั้นมีความรวดเร็วมาก จนแบ่งมดออกเป็นหลายตระกูล "มดดาวอังคาร" ชอบอาศัยอยู่ในดิน ใบไม้ผุๆ ต้นไม้ และวิวัฒนาการที่ทำให้มันเป็นมดที่ไม่มีตา มีสีซีด เพราะมันอาศัยอยู่ใต้ดิน แต่ยังคงลักษณะของบรรพบุรุษมดไว้

ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด